วันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556


สำนวนไทยควรรู้


หมวด ก.

กบในกะลาครอบ




ความหมาย   ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก.



กบเลือกนาย

ความหมาย     ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ.


กรวดน้ำคว่ำกะลา, กรวดน้ำคว่ำขัน


ความหมาย     ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย


กระดูกร้องไห้





ความหมาย     การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ



กระจัดพลัดพราย
ความหมาย    แตกซ่านเซ็นไป

กระชังหน้าใหญ่
ความหมาย    จัดจ้าน

กระเชอก้นรั่ว
ความหมาย    สุรุ่ยสุร่าย

กระดกกระดนโด่
ความหมาย    ท่าท่างเก้งก้างไม่เรียบร้อย

กระดังงาลนไฟ
ความหมาย    หญิงที่เคยแต่งงาน หรือผ่านชายมามากแล้ว ย่อมรู้ชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่า หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน

กระดี่ได้น้ำ
ความหมาย    แสดงความตื่นเต้นดีใจจนตัวสั่น



กระดูกแข็ง
ความหมาย     ไม่ตายง่ายๆ

กระดูกสันหลังของชาติ
ความหมาย       ชาวนา

กระต่ายขาเดียว
ความหมาย      ยืนกรานไม่ยอมรับ

กระต่ายสามขา
ความหมาย       ยืนกรานไม่ยอมรับ

กระต่ายหมายจันทร์
ความหมาย      ผู้ชายหมายปองหญิงที่มีฐานะดีกว่า

กระต่ายแหย่เสือ
ความหมาย      คนเล็กยั่วคนตัวใหญ่

กระเทือนซาง
ความหมาย     พูดหรือกระทำให้ผู้อื่นกระเทือนใจ

กระสือตอมห่า
ความหมาย     รุมกันแสวงหาผลประโยชน์

กระแตวับ
ความหมาย     หน้าเป็น

กระโถนท้องพระโรง
ความหมาย    ผู้ที่ใครๆก็ใช้ได้

กลมเป็นลูกบิลเลียด
ความหมาย     หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด

กลมเป็นลูกมะนาว
ความหมาย     หลบหลีกไปได้คล่องจนจับไม่ติด

กลางเก่ากลางใหม่
ความหมาย     ไม่เก่าไม่ใหม่

กลับเนื้อกลับตัว
ความหมาย     เลิกทำชั่ว หันมาทำดี

กลับหน้ามือเป็นหลังมือ
ความหมาย     เปลี่ยนแปลงทำให้ผิดไปจากเดิม อย่างตรงกันข้าม

กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ความหมาย      จำใจทน ตกอยู่ในที่ลำบาก

กวนน้ำให้ขุ่น
ความหมาย       ขุดคุ้ยเรื่องราวที่สงบลงแล้วให้วุ่นวาย

กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้
ความหมาย      การรอคอยที่เอาผลประโยชน์ไม่ได้

กวัดไกวไสส่ง
ความหมาย      ขออย่าได้พบเห็นกันอีก

กอดแข้งกอดขา
ความหมาย      ประจบประแจง

ก่อกรรมทำเข็ญ
ความหมาย     ก่อความเดือดร้อนร่ำไป

ก่อร่างสร้างตัว
ความหมาย     ตั้งเนื้อตั้งตัวเป็นหลักฐาน

กะลา
ความหมาย      ไม่มีค่า

กัดก้อนเกลือกิน
ความหมาย       ตกอยู่ในภาวะลำบากยากจน

กัดหางตัวเอง
ความหมาย      พูดวนไปวนมา

กันดีกว่าแก้
ความหมาย     ป้องกันไม่ให้เกิดเหตุ

กันท่า
ความหมาย      กีดกันไม่ให้ผู้อื่นได้ประโยชน์

กาคาบพริก
ความหมาย     ลักษณะคนผิวดำแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง

กาฝาก
ความหมาย      แฝงอยู่กับคนอื่นโดยไม่ทำประโยชน์ให้

กาในหมู่หงส์
ความหมาย     คนชั้นต่ำในหมู่ผู้ดี

กาหลงรัง
ความหมาย      ผู้ที่หลงติดอยู่ บ้านใดบ้านหนึ่งไม่ยอมกลับบ้าน ไม่มีที่พักพิง

กำปั้นทุบดิน
ความหมาย      พูดแบบขอไปที

กำเริบเสิบสาน
ความหมาย      ได้ใจ เหิมใจ

กำลังกินกำลังนอน
ความหมาย      อยู่ในวัยกินนอน

กิ่งทองใบหยก
ความหมาย      เหมาะสมกัน

กิ้งก่าได้ทอง
ความหมาย      เมื่อได้ยศศักดิ์เพียงเล็กน้อยก็หยิ่งจองหองลืมตน

กินเกลือกินกะปิ
ความหมาย     โง่

กินแกงร้อน
ความหมาย     ทำอะไรเมื่อจวนตัว

กินของเก่า
ความหมาย     อาศัยของเก่ากิน

กินขาด
ความหมาย     ดีกว่ามาก เหนือกว่ามาก

กินขันหมาก
ความหมาย     ได้แต่งงานอย่างมีหน้ามีตา

กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย
ความหมาย     คนชั้นเจ้าขุนมูลนาย

กินข้าวต้มกระโจมกลาง

ความหมาย     ทำอะไรฉับพลันก่อให้เกิดความเสียหาย

กินดิบ
ความหมาย     ขั้นเชิงในการเอาชนะเหนือกว่ามาก

กินนอกกินใน
ความหมาย     เอาประโยชน์ทั้งขึ้นทั้งล่อง ทั้งทางตรงทางอ้อม













สำนวนไทยที่ควรรู้




                สำนวนไทย คือถ้อยคําหรือข้อความที่กล่าวสืบต่อกันมาช้านานแล้ว มีความหมายไม่ตรงตามตัวหรือมีความหมายอื่นแฝงอยู่หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า สำนวน คือถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือความที่เรียบเรียงขึ้นในเชิงอุปมาอุปมัยโดยมีนัยแฝงเร้นซ่อนอยู้อย่างลึกซึ้ง แยบคาย เพื่อให้ผู้รับได้ไปตีความ ทำความเข้าใจด้วยตนเองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งอาจแตกต่างไปความหมายเดิมหรืออาจคล้ายคลึงกับความหมายเดิมก็ได้ สันนิษฐานว่า สำนวนนั้นมีอยู่ในภาษาพูดก่อนที่จะมีภาษาเขียนเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย โดยเมื่อพิจารณาจากข้อความในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหแล้ว ก็พบว่ามีสำนวนไทยปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ เช่น ไพร่ฟ้าหน้าใส หมายถึง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข



การแบ่งประเภท


  1. การแบ่งตามมูลเหตุ
    1. หมวดที่เกิดจากธรรมชาติ เช่น ตื่นแต่ไก่โห่ ปลากระดี่ได้น้ำ แมวไม่อยู่หนูร่าเริง ไก่แก่แม่ปลาช่อน
    2. หมวดที่เกิดจากการกระทำ เช่น ไกลปืนเที่ยงสาวไส้ให้กากิน ชักใบให้เรือเสีย ปิดทองหลังพระ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
    3. หมวดที่เกิดจากสภาพแวดแวดล้อม เช่น ตีวัวกระทบคราด ใกล้เกลือกินด่าง] ฆ่าควายอย่าเสียดายพริก
    4. หมวดที่เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ
    5. หมวดที่เกิดจากระเบียบแบบแผนประเพณีความเชื่อ เช่น กงเกวียนกำเกวียน คู่แล้วไม่แคล้วกัน ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่
    6. หมวดที่เกิดจากความประพฤติ เช่น หงิมหงิมหยิบชิ้นปลามัน ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา คบคนดูหน้าซื้อผ้าดูเนื้อ ขี้เกียจสันหลังยาว
  2. มีเสียงสัมผัส
    1. คำสัมผัส เช่น คอขาดบาดตาย มั่งมีศรีสุข ทำมาค้าขาย
    2. 6-7 คำสัมผัส เช่น ปากเป็นเอก เลขเป็นโท คดในข้องอในกระดูก แพ้เป็นพระชนะเป็นมาร ขิงก็ราข่าก็แรง
    3. 8 - 9 คำสัมผัส เช่น ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ตักน้ำใส่กะโหลก ชะโงกดูเงา
  3. ไม่มีเสียงสัมผัส
    1. 2 คำเรียงกัน เช่น กัดฟัน ของร้อน ก่อหวอด
    2. 3 คำเรียงกัน เช่น ไกลปืนเที่ยง ก้างขวางคอ ดาบสองคม
    3. 4 คำเรียงกัน เช่น ใกล้เกลือกินด่าง ผักชีโรยหน้า เข้าด้ายเข้าเข็ม
    4. 5 คำเรียงกัน เช่น ชักแม่น้ำทั้งห้า ลางเนื้อชอบลางยา ขว้างงูไม่พ้นคอ
    5. 6 - 7 คำเรียงกัน เช่น ยกภูเขาออกจากอก วันพระไม่มีหนเดียว ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ



ที่มาของสำนวน

1 สำนวนที่เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม ทรัพย์ในดินสินในน้ำ บ้านเคยอยู่อู่เคยนอน

2 สำนวนเกี่ยวกับพืช
ขิงก็ราข่าก็แรง มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก ใบไม้ร่วงจะออกช่อ

3 สำนวนเกี่ยวกับสัตว์
โง่เง่าเต่าตุ่น ตีปลาหน้าไซ นกมีหูหนูมีปีก

4 สำนวนเกี่ยวกับนิทาน
กิ้งก่าได้ทอง กระต่ายตื่นตูม เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ชาวนากับงูเห่า